Wednesday, July 30, 2008

Online Learning Web based Management: การจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ผ่านทางระบบเครือข่าย

ความหมายของอีเลิร์นนิ่ง
eLearning Means & Definitions
Various of related definitions and means that I want to refer to:- Such as...
E-Learning: learning that is accomplished over the Internet, a computer network, via CD-ROM, interactive TV, or satellite broadcast.
E-Learning : is About Online Learn
ing The information you'll here find will be helpful as you: research online learning decide upon a course of study choose a learning provider or are just curious about e-Learning!

e-Learning is an umbrella term that describes learning done at a computer, usually connected to a network, giving us the opportunity to learn almost anytime, anywhere.
e-Learning is not unlike any other form of education - and it is widely accepted that e-Learning can be as rich and as valuable as the classroom experience or even more so. With its unique features e-Learning is an experience that leads to comprehension and mastery of new skills and knowledge, just like its traditional counterpart.

Instructional Design for e-Learning has been perfected and refined over many years using established teaching principles, with many benefits to students. As a result colleges, universities, businesses, and organizations worldwide now offer their students fully accredited online degree, vocational, and continuing education programs in abundance.
Some other terms frequently interchanged with e-Learning include:
online learning ,online education ,distance education ,distance learning ,technology-based training , web-based training and computer-based training (generally thought of as learning from a CD-ROM)
e-Learning is a broad term used to describe learning done at a computer. Use our
e-learning glossary to look up e-Learning and other technical terms.
e-Learning. eLearning. "e"learning. However you write it, definitions abound.
The convergence of the Internet and learning, or Internet-enabled learning.
The use of network technologies to create, foster, deliver, and facilitate learning, anytime and anywhere.
The delivery of individualized, comprehensive, dynamic learning content in real time, aiding the development of communities of knowledge, linking learners and practitioners with experts.
A phenomenon delivering accountability, accessibility, and opportunity to allow people and organizations to keep up with the rapid changes that define the Internet world.
A force that gives people and organizations the competitive edge to allow them to keep ahead of the rapidly changing global economy.
With good design and delivery, e-learning does all these things. But, at its heart, it is, simply, learning. Too bad most interpretations focus on the technology (the "e") and not on the learning.
e-Learning has to keep the people it's designed for in mind. How do we learn? How do we acquire and retain skills and information to help us develop? Only when we address individual learning styles can the "e" in e-learning factor in. Then the technical side—the electronic delivery—can be adapted to the learner.

การจัดการเรียนการสอนหรือการจัดการเรียนรู้ที่ให้บริการแบบออนไลน์ผ่านทางระบบเครือข่ายทั้งภายและภายนอกสถาบันการศึกษา หรือที่มักเรียกกันว่าเป็นระบบ eLearning นั้น ปัจจุบันนับเป็นเรื่องจำเป็นและเป็นนโยบายหลักของสถานศึกษาทุกระดับชั้น ที่ต้องมีการดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาล ตามหัวข้อยุทธศาสตร์ของการพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ ในสาระสำคัญของสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะในประเด็นของ
การปฏิรูปการศึกษาและกระบวนการเรียนการสอนที่ต้องเร่งดำเนินการ อันได้แก่ :
- เร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาและกระบวนการเรียนการสอนทุกรูปแบบสำหรับผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
- สนับสนุนให้มีกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยคำนึงถึงคุณค่าของลักษณะเฉพาะและเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
- ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านหนังสืออย่างจริงจังตั้งแต่เด็กจนตลอดชีวิต เพื่อรองรับสังคมเศรษฐกิจบนฐานความรู้
- พัฒนาทักษะและการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในช่วงวัยทำงานอย่างเป็นระบบและพัฒนามาตรฐานวิชาชีพของแรงงาน
การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาความรู้ อันได้แก่:
- เร่งสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ในระบบและนอกระบบ ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
- ร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อสร้างแหล่งบริการองค์ความรู้ให้กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศอย่างสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น อาทิ ระบบห้องสมุดสมัยใหม่ หรืออุทยานการเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ศูนย์พัฒนาด้านกีฬา ดนตรี ศิลปะ ศูนย์บำบัดและพัฒนาศักยภาพของบุคคลออทิสติกและผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ ศูนย์การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- การเชื่อมเครือข่ายความรู้ของทุกโรงเรียนเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- สนับสนุนผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่ระดับพื้นฐานถึงอุดมศึกษา เช่นการเพิ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์
- การให้สถาบันวิจัยมีส่วนร่วมในการผลิตบุคลากรระดับปริญญาโทและเอก
- สนับสนุนให้โรงเรียนที่มีชื่อเสียงสามารถระดมทุนเองได้ เพื่อสร้างเครือข่ายของโรงเรียนและเป็นพี่เลี้ยงให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ต่างๆ ที่มีความต้องการร่วมสร้างคุณภาพการศึกษา
การเตรียมการ(Plan) การจัดการ(Do) การให้โอกาสได้มีการทบสอบทดลอง(Check) มีการจัดตั้งศูนย์ให้บริการและรับผิดชอบการทำงานโดยตรง(Action) นับว่าจะเป็นโอกาสสำหรับสังคมใหม่หรือสถาบันการศึกษาใหม่ ได้เกิดการพัฒนา(Development)เกิดความร่วมมือกัน(Colaboration)และอาศัยพึ่งพาศักยภาพแห่งศาสตร์ที่หลายหลายสาขา(Crossed or Intergrated Sciences) ที่ต้องมีการพัฒนากำลังคน กำลังทรัพย์หรืองบประมาณ ให้การสนับสนุนทรัพยากรที่ต้องการจำเป็น(Needs Accessment)ให้สามารถดำเนินการจัดการให้การศึกษาด้วยระบบวิทยาการที่ก้าวหน้าและเข้าถึงได้ตลอดเวลา จนสามารถทำให้เกิดสังคมที่เรียกกันว่า สังคมแห่งการเรียนรู้(Learning Society)ได้อย่างแท้จริง
หากสังคมใดไม่ได้เตรียมการทั้งคนของสังคม หรือมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ไว้ให้พร้อมที่จะปรับตัว และพร้อมที่จะเรียนรู้การเข้าสู่โลกยุคข้อมูลข่าวสาร ก็จะทำให้ระบบสังคมนั้นๆเกิดความอ่อนแอ จนไม่สามารถนำเสนอเพื่อแข่งขันในสังคมโลกที่ต้องเปิดเผยศักยภาพของมากขึ้นได้ แต่เนื่องด้วยความจำเป็นตามนโยบายของรัฐ ซึ่งต้องแข่งขันกันสร้างความเข้มแข็ง จึงต้องมีการเรียนรู้อย่างจริงจัง ต่อเนื่องและอย่างมีคุณภาพตามเกณฑ์ ดังนั้นจึงทำให้มีความจำเป็นที่ต้องใช้แนวทาง วิธีการ การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เป็นทางเลือกเพื่อการศึกษาและการสื่อสารเทคนิคใหม่ๆ ที่จำเป็นใช้ทั้งระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศต่างๆเข้ามาเสริมความพร้อมที่จะสามารถดำเนินการบริหารหรือการให้บริการได้จริง
ซึ่งหนทางที่จะมุ่งไปสู่ความสำเร็จ ของการที่จะสามารถดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่ให้บริการแบบออนไลน์ หรือการจัดระบบ eLearning อย่างสมบูรณ์ได้นั้น หน่วยงานหลักที่มีภาระรับผิดชอบนั้น ควรที่จะมีความพร้อมด้านองค์ประกอบในประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้คือ
1.ความพร้อมด้านการพัฒนาระบบเครือข่าย (Network System Development)
2.ความพร้อมของศูนย์สนับสนุนการเรียนแบบออนไลน์(Service & Support Center)
3.ความพร้อมด้านการพัฒนาชุดการเรียนการสอน(Content or Courseware Development)
4.ความพร้อมของระบบบริหารจัดการเรียนรู้ (Learning Management System : LMS)
5.ความพร้อมด้านผู้สอนและบุคลากรสนับสนุน(Teacher/staff Development)
6.ความพร้อมและศักยภาพของผู้เรียน (Learner /User Capacity Development )
7.ความพร้อมด้านหลักประกันด้านคุณภาพ (Quality Assurance)
8.ความพร้อมด้านการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ(Cost Effectiveness)
ประเด็นข้อเสนอแนะที่กล่าวมาสามารถกล่าวได้ว่า สามารถที่จะใช้เป็นแนวทางขั้นพื้นฐานของการเทียบเกณฑ์ หรือใช้เป็นมาตรวัดความพร้อมของสถาบันการศึกษา และหรือองค์กรที่ต้องการตรวจสอบการดำเนินงานที่สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐดังที่ได้กล่าวอ้างมาแล้วในเบื้องต้น